July 24, 2012

การเลือกใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส



การเลือกใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส

ในปัจจุบันซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีจำนวนมากมาย สามารถดาวน์โหลดได้โดยทั่วไป การเลือกใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สหนึ่งโปรแกรมอาจเป็นเรื่องยากในการตัดสินใจ ดังนั้นการประเมินที่เป็นมาตรฐานเพื่อเลือกใช้ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ บริษัท Navica จึงได้สร้างโมเดลเพื่อประเมินความสมบูรณ์ของซอฟต์แวร์ โดยมีหลักการดังนี้
มาตรฐาน Open Source Maturity Model (OSMM) เป็นมาตรฐานในการวัดคุณภาพของซอฟต์แวร์แบบเปิด ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ และเกี่ยวกับการวางกรองโครงร่าง ทั้งส่วนผู้ใช้และองค์กร โดยมีรูปแบบการประเมินการเจริญเติบโตของซอฟต์แวร์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันสามขั้นตอน ดังนี้ (Golden, B. 2005)
ขั้นตอนที่ 1 การประเมินองค์ประกอบของซอฟต์แวร์ (Assess Element Maturity)
โดยการกำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินซอฟต์แวร์โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1.             ซอฟต์แวร์ (Product Software) พิจารณาจาก หน้าที่การทำงาน อายุการใช้งาน คุณภาพของงาน และคุณภาพของทีมงาน
2.             การสนับสนุนทางเทคนิค (Technical Support) พิจารณาจาก การติดต่อสื่อสาร ค่าใช้จ่าย และความชำนาญของผู้ให้บริการ
3.             การจัดทำเอกสารคู่มือ (Documentation) พิจารณาจาก ขั้นตอนการสร้างและการพัฒนา
4.             การฝึกอบรม (Training) พิจารณาจาก คู่มือการใช้งาน การอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญ และผู้ใช้งานจริง
5.             การผสมผสาน (Production integration) พิจารณาจาก ผลกระทบต่อการทำงานกับระบบงานอื่น
6.             บริการที่ปรึกษา (Professional services) พิจารณาจากการให้บริการจากทีมงาน
โดยแต่ละองค์ประกอบจะมีการประเมินและกำหนดระดับคะแนน ด้วยขึ้นตอน 4 ขั้นตอน คือ
1.             การกำหนดความต้องการ (Define Requirement) คือ การกำหนดองค์ประกอบหลัก หรือฟังก์ชั่นการทำงานที่จำเป็นสำหรับซอฟต์แวร์
2.             ระบุแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือ (Locate Resource) การมีแหล่งช่วยเหลือ แนะนำการทำงานของซอฟต์แวร์ เช่นฟอรัม เวบบอร์ด
3.             การประเมินความสมบูรณ์ (Assess maturity) ระบุองค์ประกอบที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับการทำงาน โดยแบ่งเป็นระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ ไม่มี จนถึง สมบูรณ์
4.             การกำหนดระดับคะแนน (Assign maturity Score) การให้คะแนนเพื่อตัดสินองค์ประกอบ โดยมีค่าคะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 10

ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดน้ำหนักในแต่ละองค์ประกอบ (Assign Weighting Factor)  
โดยมีระดับคะแนนสูงสุดที่ใช้ประเมิน เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน OSMM โดยมีค่าแต่ละองค์ประกอบดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ตารางถ่วงน้ำหนักขององค์ประกอบต่างๆ

รายละเอียด
น้ำหนักมาตรฐาน
Software
4
Technical support
2
Documentation
1
Training
1
Integration
1
Professional service
1
Total
10
ช่วงคะแนน
ระดับ
ความหมาย
2.01-6.00
Experimentation
ระดับปานกลาง
6.01-8.00
Pilot
ระดับที่ใกล้สบูรณ์
8.01-10.00
Production
ระดับสมบูรณ์

ขั้นตอนที่ 3 การคำนวนระดับคะแนน (Calculate Product Maturity Score)
โดยรวมผลคะแนนจากแบบประเมินที่กำหนดแล้ว จากนั้นทำการประเมินระดับความก้าวหน้าตามมาตรฐาน OSMM โดยแบ่งออกเป็นสามระดับ คือ  Experimentation, Pilot และ  Production ตามช่วงคะแนน ดังแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 แสดงช่วงคะแนน และความหมาย


อ้างอิง
Golden, B. (2005). Making open source ready for the enterprise: The open source maturity model. Navica.
ธีรพล ศรีสกุลพานิชย์ (2552). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

No comments: