January 18, 2018

เทคนิคการนำเสนอ (ตอนที่ 3)

3. เทคนิค  10 ประการในการนำเสนอ

3.1 แสดงออกถึงความต้องการในการนำเสนอ

เทคนิคแรกที่สำคัญคือผู้บรรยายหรือผู้นำเสนอจะต้องแสดงออกถึงความต้องการ  ความกระตือรือล้นในการที่จะนำเสนอ  ซึ่งผู้ฟังเองจะสามารถรับรู้สิ่งเหล่านี้ได้ และจะเกิดความรู้สึกสนใจในการเข้าฟัง    แต่ความรู้สึกที่อยากจะนำเสนอของผู้บรรยายนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อต้องมีความเชื่อและมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมในเนื้อหาว่าเหมาะสม  การออกแบบหรือรูปแบบของสไลด์สมบูรณ์แบบ    องค์ประกอบต่างๆครบและถูกต้อง  ความแตกต่างของมือสมัครเล่นกับมืออาชีพคือความสามารถในการที่จะสร้างแรงจูงใจต่อผู้ฟังการบรรยาย   การนำเสนอก็จะบรรลุผลสำเร็จหรือไม่สิ่งสำคัญที่สุดคือเชื่อความสัทธาในงานของผู้นำเสนอเอง   

3.เริ่มต้นนำเสนออย่าง เต็ม 100

          อย่าพลาดโอกาส  2-3 นาทีแรกของการนำเสนอ ซึ่งถือได้ว่าเป็นนาทีทองหรือช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของการบรรยาย  ผู้บรรยายจะต้องดึงความสามารถของตนเองออกมาใช้ทั้งหมด   เพราะในช่วงนี้ถ้าผู้บรรยายไม่สามารถทำให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือความสนใจที่จะฟังได้   การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของการบรรยายก็จะเป็นเรื่องยาก  อย่าไปเสียเวลากับการกล่าวนำ  หรือกล่าวถึงความเป็นมาต่างๆที่ไม่ใช้สาระสำคัญ  ถ้าพลาดนาทีทองนี้ ผู้บรรยายอาจจะพบกับปฏิกิริยาตอบสนองของผู้ฟังในทางที่ไม่พึงประสงค์  เช่น การนั่งคุยกันเอง หรือการวิจารณ์ว่าไม่น่าสนใจ   

3.3 นำเสนอให้กระชับ

  พฤติกรรมของผู้เข้ารับฟังการบรรยาย ส่วนมากจะให้ความสำคัญหรือรอคอยกิจกรรมอยู่สองช่วง  ช่วงแรกคือช่วงเริ่มงาน และช่วงที่สองคือช่วงที่ได้ยินคำว่า  สรุปว่า…..       ซึ่งมักจะเป็นช่วงใกล้จะจบการนำเสนอ   ไม่มีใครที่อยากจะนั่งอยู่กับที่และฟังการบรรยายนานๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ฟังในปัจจุบันซึ่งต่างคนก็ต่างมีภาระมากมายเวลาเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง   ถ้าการบรรยาย 30  นาทีแต่ผู้บรรยายสามารถทำให้จบได้ภายใน  25 นาที   ผู้ฟังจะรู้สึกดีและอยากที่จะเข้าร่วมในการบรรยายครั้งต่อไปถ้าผู้บรรยายคนนี้เป็นวิทยากร   ในทางตรงกันข้ามถ้าจบการบรรยายโดยใช้เวลา 35 นาที  จะเกิดพฤติติกรรมตอบสนองในเชิงลบเช่น เสียงคุยมากขึ้น  เสียงขยับโต๊ะ  เริ่มเก็บอุปเครื่องเขียนและเอกสารเข้ากระเป๋า  เป็นต้น  และผู้ฟังจะไม่รู้สึกอยากเข้าร่วมฟังการบรรยายของวิทยากรคนนี้ในครั้งต่อไป

3.4 หลีกเลี่ยงการใช้โพเดียม

 เป้าหมายของการบรรยายก็เพื่อการสื่อสารกับผู้ฟัง   ซึ่งไม่ได้เกิดจากการพูดแต่เพียงอย่างเดียว กิริยาท่าทาง หรือภาษากายก็มีความสำคัญในการสือสาร  การเคลื่อนที่ของร่างกายเป็นส่วนหนึ่งในการดึงดูดความสนใจ และการสือสาร  สิ่งเหล่านี้ไม่ควรจะถูกบดบังด้วยอุปสรรค์ทางกายภาพ คือการที่ผู้บรรยายยืนบรรยายอยู่ข้างหลังโพเดียม  การบรรยายโดยไม่ใช้โพเดียม นอกจากจะทำให้การสือสารดีขึ้นแล้วยังทำให้ผู้ฟังและตัวผู้บรรยายเองเกิดตวามมั่นใจในการบรรยายอีกด้วย 


3.5 ใช้อุปกรณ์ รีโมทคอนโทรล ในระหว่างการบรรยาย
          การบรรยายส่วนมาก คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กที่ผู้บรรยายเตรียมมามักจะวางอยู่บนโพเดียม เป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้บรรยายต้องยึดติดอยู่กับโพเดียมเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนสไลด์    รีโมทคอนโทรล เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จะช่วยให้ผูบรรยายหลีกเลี่ยงการใช้โพเดียม 


3.เรียนรู้และใช้แป้นพิมพ์ ตัวอักษร “B
          ในบางช่างของการบรรยาย  ถ้าผู้บรรยายต้องการจะออกจากสาระบนสไลด์ในชั่วขณะ  เพื่อดึงให้ความสนใจของผู้ฟังมาอยู่ที่ตัวผู้บรรยาย   การออกจากโปรแกรมไม่ใช่วิธีที่ควรจะทำ  เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว  และให้รู้สึกถึงความเป็นมืออาชีพของผู้บรรยาย   B คีย์ คือคำตอบเพราะการกด B คีย์จะใช้ในการทำให้เกิดภาวะหน้าจอว่าง (Blank or Black Screen)  หรือ W คีย์ จะทำให้หน้าจอเป็นสีขาว


3.7 ใช้สายตาเป็นสื่อสู่ผู้ฟัง
ระหว่างการบรรยายอย่าละสายตาออกจากผู้ฟังเพื่ออ่านข้อความบนสไลด์  ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะหันหลังเข้าหาผู้ฟัง   ถึงแม้บางครั้งจะต้องดูสไลด์ ให้ใช้การเหลือบมองแทนการหันหลัง   การชี้ข้อมูลหรือจุดสำคัญบนสไลด์ก็สามารถหลีกเลี่ยงการหันหลังได้โดยการยืนให้เฉียงจากจอ   การไม่ละทิ้งสายตาจากผู้ฟังจะแสดงถึงการให้ความสำคัญและการใส่ใจต่อผู้ฟัง   การมองผนวกกับรอยยิ้มสยามบนใบหน้า   เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่จะการสร้างความประทับใจแก่ผู้การบรรยาย
3.8 ให้แสงสว่างอย่างเพียงพอ
          กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ควรเปิดไฟระหว่างการบรรยาย  ไม่ว่าจะเป็นการบรรยายในห้องเรียนหรือห้องประชุม  ควรเปิดไฟมากกว่าปิดไฟ  แสงสว่างจะเป็นเป็นตัวกระตุ้นความกระตือรือล้นและยังทำให้การสื่อสารด้วยสายตาและท่าทางมีประสิทธิภาพมากกว่าการบรรยายในที่แสงน้อยหรือที่มืดที่เหมาะแก่การสร้างบรรยากาศของการพักผ่อน  ทำให้ผู้ฟังเกิดอาการง่วงนอน  การปิดไฟมีวัตถุประสงค์อยู่เพียงอย่างเดียวคือเพื่อทำให้การมองจอสไลด์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น  ซึ่งด้วยเทคโนโลยีของเครื่องฉายสไลด์ในปัจจุบัน  ความสว่างและความคมชัดของของจอมีมากเกินพอ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องปิดหรือหรี่ไฟเพื่อลดแสงสว่างภายในห้องบรรยาย

3.9 ใช้ ทีวี ในการนำเสนอต่อกลุ่มย่อย
          ถ้าจะนำเสนอต่อกลุ่มผู้ฟัง 5-6 คน ควรใช้ทีวี แทนการใช้เครื่องฉาย นอกจากมีความเหมาะสมทางด้านการประหยัดพลังงานแล้ว ความใกล้ชิดระหว่างผู้บรรยายกับผู้ฟังจะมีมาก บรรยากาศของความเป็นกันเองจะเกิดขึ้นง่าย  การแสดงออกถึงความคิดเห็นหรือคำถาม จะเป็นไปอย่างกว้างขวาง  ในการนำเสนอโดยใช้ทีวีนั้น  ผู้พูดต้องตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าสไลด์ที่เตรียมมานั้นมีความเหมาะสมเว่น ขนาดของตัวหนังสือ  ถ้าฉายทางโปรเจ็คเตอร์สามารถอ่านได้ชัดเจน แต่ถ้าผ่านทางทีวีอาจมีขนาดเล็กไป  เหล่านี้คือสิ่งที่ไม่ควรละเลย

3.10  ใส่ใจ ให้เกียรติ ต่อผู้ฟัง
          กิริยา มารยาท เป็นสิ่งที่ผู้ฟังรับรู้ได้  การบรรยายถึงแม้จะมีความเข้มข้น น่าสนใจ  ก็ควรจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสุภาพ การให้เกียรติ์   คำบางคำควรพูด บางคำไม่ควร  คำที่จะอาจจะตึความได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบไม่ควรนำมาใช้   การให้เกียรติ์โดยการกล่าวคำขอบคุณเมื่อผู้ฟังเสนอความคิดเห็น  การใส่ใจที่จะตอบคำถาม  ล้วนเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย  เหล่านี้เป็นองค์ประกอบของการนำเสนอที่จะนำไปสู่ผลสำเร็จแบบมืออาชีพ 

No comments: